top of page

(ep09) เรื่องเล่าของการพัฒนา Chrome ด้วย OKRs

อัปเดตเมื่อ 13 ธ.ค. 2565



หลายคนน่าจะรู้จักกับ โครม (Chrome) ซึ่งเป็น เว็ปบราวเซอร์ (Web Browser) ของกูเกิลที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาตั้งแต่ช่วงปี 2008 หรือกว่า 10 ปีแล้ว ถ้าหากมองย้อนไปในช่วงนั้น กูเกิลถือเป็นผู้นำด้านระบบการค้นหาข้อมูลที่ขึ้นมาแทนที่ ยาฮู แต่ปัญหาที่กูเกิลพบในตอนนั้นคือ คนส่วนใหญ่ที่ใช้งานกูเกิล มักจะเข้าใจกันว่าถ้าจะหาข้อมูลโดยใช้กูเกิล จะต้องกดปุ่ม e ก่อน โดยไม่รู้เลยว่าปุ่ม e นี้หมายถึงอะไร


จริงๆ แล้วปุ่ม e ที่ว่าเป็นโปรแกรมเว็ปบราวเซอร์ที่เรียกว่า อินเตอร์เน็ต เอ็กพลอเลอร์ (Internal Explorer) ที่ใช้เป็นประตูเข้าสู่อินเตอร์เน็ต เพื่อไปยังหน้าเว็ปอื่นๆ ตามที่ต้องการ รวมถึงหน้าเว็ปของกูเกิลที่ใช้ในการค้นหาข้อมูลด้วย ที่บอกว่าเป็นปัญหาสำหรับกูเกิล ก็คือปุ่ม e นี้ไม่ใช่เป็นของกูเกิล แต่เป็นของบริษัทไมโครซอฟท์ และเป็นที่นิยมอันดับหนึ่ง เพราะมันติดมากับโปรแกรมวินโดว์ของไมโครซอฟท์นั่นเอง ทำให้ใครๆ ก็รู้จักปุ่ม e ทั้งๆ ที่ช่วงนั้น ก็มีโปรแกรมเว๊ปบราวเซอร์หลายโปรแกรมอยู่แล้ว แต่ก็ไม่เป็นที่นิยมเท่ากับ เอ็กพรอเลอร์ นี้


และที่จะทำให้กูเกิลเริ่มรู้สึกว่าตัวเองกำลังจะเดือดร้อน ก็มาจากการที่ไมโครซอฟท์เองมีความคิดที่จะพัฒนาระบบการค้นหาข้อมูล (Search Engine) เป็นของตัวเอง และถ้าเกิดขึ้นจริง อาจจะทำให้คนที่กดปุ่ม e และต้องการค้นหาข้อมูล ป6j, นี้ ก็อาจจะมาพามาที่ระบบการค้นหาข้อมูลของไมโครซอฟท์ทันที โดยไม่จำเป็นที่จะต้องไปที่กูเกิลก็ได้ และเมื่อนั้นย่อมส่งผลกระทบต่อจำนวนผู้ใช้งานกูเกิลที่อาจจะลดลงอย่างมากเลยทเดียว (มีใครจำโปรแกรมค้นหาข้อมูลของไมโครซอฟท์ที่ชื่อ Bing ได้ไหมครับ)


จึงเป็นที่มาที่กูเกิลจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาโปรแกรมเว็ปบราวเซอร์เป็นของตัวเองโดยเร็ว และโจทย์ที่สำคัญที่ผู้บริหารของกูเกิลตั้งไว้ในตอนนั้นคือ ถ้าจะทำโปรแกรมเว็ปเบราวเซอร์ขึ้นมาเป็นของตัวเอง โปรแกรมนั้นจะต้องดีกว่า และเหนือกว่าของคู่แข่งให้ได้ และตั้งเป้าหมายเอาไว้ว่าจะต้องขึ้นไปเป็นอันดับหนึ่งให้ได้ด้วย


โครงการนี้อยู่ภายใต้การดูแลของ ศุนดรา พิชัย (Sundar Pichai) ซึ่งเป็นผู้บริหารระดับสูงที่ดูแลเรื่องผลิตภัณฑ์ในตอนนั้น (ปัจจุบัน ศุนดรา พิชัย ขึ้นมาเป็น CEO ของกูเกิล) โดยโปรแกรมเว็ปบราวเซอร์ของกูเกิลนั้น ได้ตั้งชื่อว่า โครม และออกมาใช้งานเป็นครั้งแรกในปี 2008 โดยมีการตั้งเป็นวัตถุประสงค์ ไว้ว่า ต้องการพัฒนาแพลตฟอร์มไคลเอ็นต์รุ่นต่อไปสำหรับแอพพลิเคชันบนเว็ป


โดยมีการตั้งผลลัพธ์ที่สำคัญ (KRs) ในปีแรกไว้ว่า จะต้องมีผู้ใช้งานในรอบ 7 วันเป็นจำนวน 20 ล้านคน และเมื่อสิ้นสุดการดำเนินงานในปีแรก ปรากฏว่ามีผู้ใช้งานเกิดขึ้นจริงแค่ 10 ล้านคนเท่านั้น ซึ่งถือว่าไม่ประสบความสำเร็จ ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้อย่างมาก


คำถามที่น่าสนใจคือ ในปีถัดมา ควรจะตั้งเป้าหมายเท่าไหร่ดี


ในปีต่อมา กูเกิล กลับเลือกที่จะตั้งเป้าหมายให้ท้าทายขึ้นไปอีก แทนที่จะตั้งเป้าหมายเท่าเดิม และพยายามทำให้ได้ตามเป้าหมายเดิมก่อน โดยมีการตั้งเป้าหมายไว้ที่คนใช้งานในรอบ 7 วันไว้ถึง 50 ล้านคน ซึ่งพอถึงสิ้นปี ผลงานที่ออกมาก็เหมือนเดิมครับ ยังไม่ได้ตามเป้าหมาย เพราะมีคนชมเพิ่มขึ้นแค่เพียง 37 ล้านคนเท่านั้น


ถึงตอนนี้น่าสนใจนะครับ ว่าถ้าเป็นเรา ในปีต่อมา ซึ่งเป็นปีที่สามแล้ว จะตั้งเป้าหมายเท่าไหร่ดี ในเมื่อที่ผ่านมา 2 ปี ยังไม่สามารถทำได้ตามเป้าหมายเลย เคยถามบางคนก็บอกว่า ถ้าเป็นเขาปีที่สาม ก็คงจะตั้งเป้าหมายเท่าเดิม คือ 50 ล้านคน และรอให้ทำได้ตามเป้าหมายนี้ก่อน แล้วถึงจะเพิ่มเป้าหมายให้สูงขึ้นอีกที หรือบางองค์กรอาจจะเลือกที่จะลดเป้าหมายลงด้วยซ้ำ เพราะมองว่าเป้าหมายที่ 50 ล้านเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เลย ... แต่กูเกิลไม่ใช่แบบนั้น


ด้วยวิธีคิดและวัฒนธรรมการทำงานของกูเกิล เลือกที่จะท้าทายทีมงานด้วยการตั้งเป้าหมายที่สูงขึ้นไปอีก เพราะไม่ได้มองแค่ว่าจะทำได้หรือไม่ได้เท่านั้น แต่มองว่าต้องทำให้ได้ ถ้าอยากจะให้ “โครม” ก้าวขึ้นเป็นอันดับหนึ่งของเว็ปบราวเซอร์ อย่างที่ต้องการ


ในปีที่สาม กูเกิล เลยเลือกที่จะตั้งเป้าหมายที่ท้าทายขึ้นไปอีก นั่นคือจะต้องมีผู้ใช้งานโครมในรอบ 7 วันให้ได้ถึง 111 ล้านคน (มีเรื่องเล่าว่าตอนแรกทีมงานเสนอตัวเลขไปที่ 100 ล้านคน ซึ่งก็ถือว่าท้าทายมากแล้ว เมื่อเทียบกับผลงานที่ผ่านมา แต่ทางผู้บริหารสูงสุดของกูเกิลในขณะนั้น ได้เสนอตัวเลขกลับมาที่ 111 ล้านคน ซึ่งต้องถือว่าท้าทายยิ่งขึ้นไปอีก)


จากเป้าหมายที่ท้าทายขึ้นมากกว่าเดิม แทนที่จะมานั่งบอกว่าเป็นไปไม่ได้หรอก ทีมงานทั้งหมดกลับมาพร้อมกับตั้งคำถามใหม่ว่า จะทำอย่างไร เพื่อให้ได้ตามเป้าหมายนี้ ถ้าต้องการจะเป็นเบอร์หนึ่งให้ได้อย่างที่ต้องการ


ด้วยการลงมือทำในหลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการจัดทำแคมเปญ เพื่อให้เกิดการรับรู้ในวงกว้าง การพัฒนา”โครม” ให้สามารถใช้งานได้ในทุกระบบปฏิบัติการ นอกเหนือจาก วินโดวส์ (Windows) และอีกมากมาย ส่งผลให้ตัวเลขของผู้ใช้งานพุ่งขึ้นถึง 111 ล้านคนในรอบ 7 วันตามเป้าหมาย ตั้งแต่ยังไม่ถึงสิ้นปี


นับว่าเป็นความสำเร็จอย่างก้าวกระโดดอย่างมากสำหรับ กูเกิล และส่งผลให้ “โครม” ได้กลายเป็น เว๊ป บราวเซอร์ อันดับหนึ่งในปัจจุบัน ด้วยตัวเลขส่วนแบ่งการตลาดที่มากกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับ อินเตอร์เน็ต เอ็กพลอเลอร์ ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นอันดับหนึ่ง แต่ปัจจุบันมีส่วนแบ่งการตลาดไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์แล้ว


ความสำเร็จทั้งหมดเกิดขึ้นจาก การตั้งจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน และท้าทาย ว่าถ้าจะทำต้องเป็นอันดับหนึ่งให้ได้ จากนั้น ก็ตั้งเป้าหมายการดำเนินงานที่จะช่วยทำให้ได้ตามที่ต้องการ

ดู 114 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page